วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2551

เมืองหาดใหญ่ คำว่า “หาดใหญ่” เล่ากันว่ามาจากชื่อหาดทรายขาวที่มีอาณาบริเวณกว้างขวางริมคลองอู่ตะเภา หรืออาจจะมาจากชื่อต้นมะหาดใหญ่ หาดใหญ่อยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 28 กิโลเมตร เป็นประตูผ่านไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ มาเลเซีย และสิงคโปร์ เนื่องจากอยู่ห่างจากด่านสะเดาเพียง 60 กิโลเมตร หาดใหญ่เป็นศูนย์กลางทางด้านธุรกิจการค้า การขนส่ง การสื่อสาร การคมนาคม และการท่องเที่ยว หาดใหญ่ถือเป็นสวรรค์ของนักซื้อที่สามารถหาซื้อของต่าง ๆ ได้ในราคาถูก เช่นตลาดสันติสุข จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องเสียงราคาถูก ตลาดซีกิมหยง จำหน่ายของกิน ผลไม้สด และสินค้าผ้าจากเมืองจีน ในราคาที่ต่อรองได้ นอกจากจะเป็นแหล่งซื้อของที่ถูกใจนักซื้อแล้วยังมีร้านอาหารปักต์ใต้อร่อยและร้านขายรังนกจำหน่ายหลายร้านให้ได้ลิ้มลองรับประทานเพื่อบำรุงกำลังอีกด้วย

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลจะทิ้งพระ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสทิงพระประมาณ 200 เมตร เดิมเรียกว่า “วัดสทิงพระ” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1542 ภายในวัดมีโบราณสถานซึ่งเป็นศิลปะสมัยศรีวิชัยที่น่าสนใจ เช่น เจดีย์พระมหาธาตุ วิหารพระพุทธไสยาสน์ ที่ภายในวิหารมีภาพวาดฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่มาก หอระฆังโบราณ วัดจะทิ้งพระ จะมีงานสมโภชน์พระพุทธไสยาสน์และพระเจดีย์ เป็นประจำปีทุกปี ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6


วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551

จังหวัดชุมพร

หาดทุ่งวัวแล่น

เป็นชายหาดที่สวยงามขึ้นชื่อของอำเภอปะทิว ตั้งอยู่ที่ตำบลสะพลี ห่างจากตัวจังหวัดชุมพรไปตามถนนสายชุมพร-หาดทุ่งวัวแล่น ระยะทาง 16 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่มีเม็ดทรายสีขาวนวลละเอียด ทอดตัวยาวสุดสายตา ลักษณะเป็นชายหาดน้ำตื้นค่อย ๆ ลาดเอียงลงทีละน้อย เหมาะแก่การเล่นน้ำ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ส่วนทางด้านใต้ของหาดติดภูเขาจะเป็นหาดที่มีหินอยู่มากมาย

หาดทรายรี

อยู่ที่อำเภอเมือง บริเวณอ่าวชุมพร เป็นหาดทรายยาวและมีทรายสีขาวสะอาดตา มีที่พักและร้านอาหารบริเวณริมหาด หาดนี้เป็นสถานอนุสรณ์ของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ผู้ทรงสถาปนากองทัพเรืออันทันสมัยให้กับประเทศไทย และเป็นที่เคารพของชาวชุมพร ณ ที่นี้มีสิ่งก่อสร้างที่เป็นอนุสรณ์ของพระองค์คือ ศาลเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ ( ศาลเก่า ) และ เรือหลวงชุมพร ซึ่งเป็นเรือตอร์ปิโดขนาดใหญ่ ส่วนบนเนินใกล้ๆ กันนั้นเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ ที่สร้างขึ้นใหม่
ล่องแพคลองพะโต๊ะ

ผืนป่าในเขตอำเภอพะโต๊ะ เป็นแหล่งต้นน้ำหลายสายที่ไหลคดเคี้ยวมาตามขุนเขา สองฝั่งลำน้ำเป็นป่าดงดิบ และสวนผลไม้ บางช่วงเป็นแก่งน้ำขนาดใหญ่ จึงมีการจัดกิจกรรมผจญภัยในคลองพะโต๊ะ ตลอดทั้งปี โดยเริ่มตั้งแต่คลองต้นน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ พบเห็นสัตว์ป่าที่น่าสนใจได้แก่ ค่างแว่นถิ่นใต้ลิง นกเงือก หากินอย่างอิสระในป่าธรรมชาติริมคลอง ผ่านมาอีกช่วงหนึ่งจะเป็นสวนทุเรียน สวนกาแฟ และสวนมังคุด และหากชอบเดินป่ายังมีการจัดเดินป่าขึ้นไปชมป่าต้นน้ำและพักค้างแรมแบบแค้มปิ้งหรือขี่ช้างเที่ยวป่าชมสวน มีการจัดงานเทศกาลล่องแพพะโต๊ะ ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การล่องแพที่สุด สอบถามข้อมูลติดต่อ บริษัท มาริน บริการ ที่มา http://www.geocities.com/manunya_chaithongsri/chumporn.htm

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาสู่หาดทรายแก้ว โดยนางเหมชาลาฒ และพระธนกุมาร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๓๔ จึงได้สร้างพระบรมธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช จะก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อสร้างสมความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อองค์พระบรมธาตุเช่น สมัยศรีวิชัยได้สร้างเป็นเจดีย์ทรงศรีวิชัย ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๐ ได้ทรงสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาครอบองค์เจดีย์เดิมแบบศรีวิชัยไว้ภายใน พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานอันเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวนครศรีธรรมราช และชาวใต้ทั้งปวง ไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอนเกี่ยวกับประวัติการสร้างตามตำนานกล่าวว่า พระเจดีย์องค์เดิมสร้างตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๓๐๐ สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ต่อมาเมื่อได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับพระภิกษุลังกา โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้นิมนต์พระภิกษุลังกามาตั้งคณะสงฆ์ในเมืองนครศรีธรรมราชเป็นการสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในระยะนั้นพระบรมธาตุองค์เดิมชำรุดทรุดโทรมมาก พระภิกษุลังกาจึงได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นสถาปัตยกรรมแบบลังกา โดยสร้างพระสถูปแบบลังกาครอบองค์พระเจดีย์เดิม เป็นพระสถูปทรงโอคว่ำปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ที่มุมกำแพงแก้วมีพระบรมธาตุจำลองประดิษฐานอยู่ทั้งสี่มุม

อุทยานแห่งชาติหาดขนอม

อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอยู่ในการดำเนินการ เพื่อประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามกฎหมาย โดยได้สำรวจและเก็บข้อมูลเบื้องต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยได้กำหนดที่ดินบางส่วนของป่าคลองธง คลองเหรง ป่าเขาออก ป่าเขาท้องโหนด ป่าเขาไชยสน ป่าเลนคลองขนอม เขาฝีหาย ป่าเขาวัง ป่าเขากรด ป่าไชยคราม-วัดประดู่ ป่าเขาหัวช้าง และหมู่เกาะ 8 เกาะ ได้แก่ เกาะมัดแตง เกาะมัดโกง เกาะราบ เกาะหัวตะเข้ เกาะวังนอก เกาะวังใน เกาะน้อย และ เกาะท่าไร่ ในท้องที่อำเภอสิชล อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ท้องที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหลมพรหมเทพ


อยู่ห่างจากหาดราไวย์เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหลมที่มีหน้าผาสูงอยู่ทางใต้สุดของเกาะภูเก็ต เดิมชาวบ้านเรียกแหลมนี้ว่า "แหลมเจ้า" จากริมหน้าผามีแนวต้นตาลลาดลงสู่แหลมที่เป็นโขดหิน มองเห็นน้ำทะเลสีเขียวมรกตเป็นกระแสน้ำวนและลึก ไกลออกไปจะเห็นเกาะแก้วพิสดารอยู่ด้านหน้าแหลม และทางขวาจะมีถนนตัดไปหาดในหาน แหลมพรหมเทพนับเป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกที่สายงามมากแห่งหนึ่ง

ที่มา http://www.geocities.com/manunya_chaithongsri/phuket.htm

หาดกะรน


อยู่ถัดจากหาดกะตะไปทางเหนือ มีเพียงเนินเขาเตี้ย ๆ คั่นอยู่เท่านั้น แต่ถ้าจะไปที่กลางหาดกะรนและหมู่บ้านกะรน มีถนนแยกจากหาดกะตะไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร อ่าวกะรนใหญ่กว่าอ่าวกะตะ มีชายหาดยาวเหยียด เหนือชายหาดเป็นเนินทรายสูงๆ ต่ำๆ มีสนทะเลต้นใหญ่ๆ และต้นตาลขึ้นเรียงรายอยู่โดยทั่วไป หาดทรายที่อ่าวกะรนขาวสะอาดและละเอียดมาก

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา



มีพื้นที่ประมาณ 250,000 ไร่ ครอบคลุมอำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว อุทยานฯ แห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเลแห่งที่สองของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเล และเกาะน้อยใหญ่ มีเขาหินปูนลักษณะต่าง ๆ ที่มีความงามแตกต่างกันไปตามลักษณะของหิน สมบูรณ์ด้วยป่าชายเลน และยังเป็นแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำอีกด้วย ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524 ช่วงที่เหมาะจะมาท่องเที่ยวคือ เดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน ส่วนเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมเป็นช่วงที่ฝนตกชุก คลื่นลมแรง สถานที่น่าสนใจภายในเขตอุทยานฯ ได้แก่ เกาะปันหยี เกาะพนัก เขาพิงกัน เขาหมาจู เขาเขียน หรือ ภาพเขียนสี ถ้ำลอดและเกาะห้อง

วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม


เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอกันตังและอำเภอสิเกา มีอาณาเขตชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 20 กิโลเมตรอุทยานประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2525 ที่ทำการอุทยานอยู่ที่หาดฉางหลาง ตำบลไม้ฝาด แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ดินสถานที่ท่องเที่ยวของอุทยานได้แก่ ปากเมง หาดฉางหลาง หาดยาว หาดหยงหลิง หาดสั้น หาดเจ้าไหม ถ้ำเจ้าไหม นอกจากนี้ยังมีเกาะน้อยใหญ่อีก 7 เกาะในทะเลตรัง ที่อยู่ในความดูแลของอุทยาน ได้แก่ เกาะมุก เกาะกระดาน เกาะเชือก เกาะปลิง เกาะแหวน เกาะเมง และเกาะเจ้าไหม นอกจากนั้นบริเวณอุทยานมีศูนย์ศึกษาธรรมชาติทางทะเล จะทำการวิจัยหญ้าทะเล เป็นแหล่งคุณค่าทางนิเวศวิทยาของฝั่งทะเลอันดามัน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 7521 3258 อุทยานมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวบริการ สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150 โทร. 0 7521 3260 หรือ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พื่ช โทร. 0 2562 0760
การเดินทาง อุทยานอยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 47 กิโลเมตร ใช้เส้นทางสายตรัง - สิเกา - ปากเมง (ทางหลวงหมายเลข 4162) ระยะทาง 40 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามถนนเลียบชายหาดอีก 7 กิโลเมตร

สะพานติณสูลานนท์

เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 4146 เชื่อมระหว่างทางหลวงหมายเลข 407 สายหาดใหญ่-สงขลา กับทางหลวงหมายเลข 4083 สายสงขลา-ระโนด โดยเป็นสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาจากฝั่งบ้านน้ำกระจายผ่านเกาะยอ ไปฝั่งเขาเขียว เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องรอข้ามแพขนานยนต์ บริเวณฝั่งหัวเขาแดง สะพานแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก เชื่อมระหว่างชายฝั่งอำเภอเมือง สงขลา บริเวณบ้านน้ำกระจาย กับชายฝั่งตอนใต้ของเกาะยอ ความยาวรวมเชิงสะพานทั้งสองด้าน ประมาณ 1,140 เมตร ช่วงที่ 2 เชื่อมระหว่างฝั่งด้านเหนือของเกาะยอกับฝั่งบ้านเขาเขียว ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 1,800 เมตร สะพานนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 26 มีนาคม 2527 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2529

หาดป่าตอง



อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไป 15 กิโลเมตร นับว่าเป็นหาดที่ชื่อเสียงมากที่สุดของภูเก็ต เป็นหาดที่สิ่งอำนวยความสะดวก โรงแรม ร้านอาหาร ร้านดำน้ำ ตลอดจนกีฬาทางน้ำอื่นๆอีกมากมาย ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยว ด้วยชายหาดที่มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ป่าตองจึงเป็นหาดที่มีผู้นิยมมาเยือนมากที่สุด

หมู่เกาะพีพี

หมู่เกาะพีพี เป็นหมู่เกาะที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอยู่ในท้องที่ ต.อ่าวนาง อ.เมืองจ.กระบี่ อยู่ห่างจากชายฝั่งแม่น้ำกระบี่ 42 กิโลเมตร เป็นหมู่เกาะที่มีธรรมชาติที่สวยงาม โดยมีลักษณะเด่นของหมู่เกาะพีพี หมู่เกาะพีพี มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น11.2 ตร.กม. เฉพาะเกาะพีพีดอน ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ9,408 ตร.กม. มีประชาชนอาศัยอยู่ เป็นที่ตั้งของหมู่ที่ 7-8 ต.อ่าวนาง อ.เมืองจ.กระบี่ สภาพโดยทั่วไปของหมู่เกาะพีพี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาโดยเฉพาะภูเขาหินปูนสูงชัน พื้นที่ราบและหาดทรายกระจายอยู่ทุกเกาะตลอดจนมีแนวปะการัง และสรรพชีวิตใต้ทะเลอุดมสมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาดมีปลาทะเลชนิดต่างๆ หลากหลายสีสัน และจะมีแพลงตอนจำนวนมาก น้ำทะเลมีสีเขียวอมฟ้าใสงามดังมรกต เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลกในความงดงามตามธรรมชาติจนได้รับการขนานนามว่าเป็น " มรกตแห่งอันดามันสวรรค์เกาะพีพี " เหมาะแก่นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปชมทัศนียภาพทางทะเลเป็นอย่างดี สำหรับความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวบนเกาะพีพี
ที่มา http://www.geocities.com/dusit0009/Tourism_Pepe.htm

วังเจ้าเมืองพัทลุง (วังเก่า - วังใหม่)

ตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ ใกล้กับวัดวัง เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่อยู่ของเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันยังเหลืออยู่ส่วนหนึ่งคือวังเก่า สร้างในสมัยพระยาพัทลุง (น้อย จันทโรจนวงษ์) เป็นผู้ว่าราชการ ต่อมาวังได้ตกทอดมาจนถึง นางประไพ มุตตามระ บุตรีของหลวงศรีวรฉัตร ส่วนวังใหม่สร้างเมื่อ พ.ศ.2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี (เนตร จันทโรจนวงษ์) บุตรชายของพระยาพัทลุง ป็นเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันทายาทตระกูลจันทโรจนวงษ์ ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติ และกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.2526

อุทยานนกน้ำทะเลน้อย

เป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 4048 ผ่านอำเภอควนขนุน ระยะทางจากตัวเมือง ประมาณ 32 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 450 ตารางกิโลเมตร ทะเลน้อย มีความกว้าง 5 กิโลเมตร และยาว 6 กิโลเมตร ความลึกโดยเฉลี่ย 1.2 เมตร ปกคลุมด้วยพืชน้ำต่างๆ เช่น บัว จูด หญ้าน้ำ กก ปรือ กง ทะเลน้อยเป็นทะเลสาบที่มีนกน้ำ นกประจำถิ่นและ นกอพยพอยู่มากมายกว่า 187 ชนิด นกอพยพ ข้ามถิ่นจะมาในช่วงฤดูหนาว ระหว่าง เืดือนตุลาคม - เดือนมีนาคม เป็นช่วงที่มีนกมากที่สุด ปัจจุบัน ทะเลน้อยได้รับเลือกให้เป็น แรมซ่าร์ไซด์ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำของโลก เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และกำัลังได้รับ การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาิติที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ สามารถติดต่อสอบถามรายละเีอียดได้ที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 074 - 615722

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

หรือที่เรียกกันว่า “พระสี่มุมเมือง” เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้ และปูชนียวัตถุคู่เมืองของพัทลุง ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาจตุรมุข บริเวณด้านหน้าระหว่างศาลากลางจังหวัด กับศาลจังหวัดพัทลุง เป็นพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ปางสมาธิ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ที่จังหวัดพัทลุง เมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2511

หาดปากเมง



ตั้งอยู่ที่ตำบลไม้ฝาด เป็นหาดรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวยาวประมาณ 5 กิโลเมตร มีความสวยงามและสงบเงียบ ชายหาดมีป่าสนตามธรรมชาติขึ้น จากหาดมองไปกลางทะเลจะเห็นเกาะน้อยใหญ่สลับซับซ้อนกันมองดูลักษณะคล้ายคนนอนหงายอยู่ในทะเล บริเวณหาดปากเมงมีท่าเทียบเรือปากเมงสามารถเช่าเรือไปเกาะไหง เกาะเชือก เกาะม้า เกาะแหวน เกาะกระดาน เกาะมุกและถ้ำมรกต การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 4046–4162 (ตรัง-สิเกา-ปากเมง) ระยะทาง 38 กิโลเมตร เมื่อถึงหาดปากเมงเลี้ยวขวาประมาณ 1 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีรถตู้ ตรัง-สิเกา-ปากเมง ให้บริการที่ถนนท่ากลาง ในอำเภอเมือง

เกาะไหง




เป็นเกาะที่อยู่ในเขตอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แต่จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มของทะเลตรัง เนื่องจากการเดินทางจากจังหวัดตรังสะดวกมากกว่า หาดทรายบนเกาะขาว น้ำทะเลใส มองเห็นปลาหลายพันธุ์หลากสี รอบเกาะปะการังยังสมบูรณ์ บนเกาะมีที่พักเอกชนบริการหลายแห่ง การเดินทาง มีเรือโดยสารออกจากท่าเรือปากเมง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง และมีเรือของเอกชนบริการให้เช่า เรือขนาด 10 คน ค่าเช่าเรือเหมาลำราคา 1,500 บาท สำหรับเรือท่องเที่ยวขนาดผู้โดยสาร 20-40 คน ค่าเช่าเรือราคา 6,000 - 10,000 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางจากเกาะไหงไปบ้านศาลาด่าน (เกาะลันตา) จะมีเรือออกจากเกาะไหง เวลา 14.30 น. ถึงบ้านศาลาด่าน เวลา 15.30 น. ราคา 300 บาท

เขาตังกวน



บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุคู่เมืองสงขลา ซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวารวดี ในเดือนตุลาคมของทุกปีจะมีพิธีห่มผ้าองค์เจดีย์ ประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว และยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาและทะเลสาบสงขลาได้ และก่อนถึงยอดเขาตังกวนจะมีศาลาวิหารแดง (พลับพลาที่ประทับ) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในสมัยนั้น สร้างพลับพลานี้ถวายตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2431

เขาเก้าเส้ง




ห่างจากหาดสมิหลาประมาณ 3 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางไปสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ มีตำนานเล่าถึงเขาเก้าเส้ง หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า “หัวนายแรง” ว่า “ครั้งนั้นทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง เขาลูกนี้ภายหลังเรียกว่า “เขาเก้าแสน” เรียกเพี้ยนไปเป็น “เก้าเส้ง”ก้อนหินที่ปิดทับบนยอดเขาเรียกว่า“หัวนายแรง” ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญานของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์มาจนทุกวันนี้”

เกาะยอ



เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบสงขลา เดินทางโดยข้ามสะพานติณสูลานนท์ ไปตามเส้นทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 407 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 4083 ทางไปอำเภอสิงหนคร เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,275 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขาและที่ราบตามเชิงเขา เหมาะแก่การเกษตรกรรม บนเกาะยอมีการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม หมายถึงผลไม้จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอคือ จำปาดะ ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขก หรือจะกินสดก็ได้ และผ้าทอเกาะยอ เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ ดอกพิกุล ดอกพะยอม เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นเกาะยอยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาอีกด้วย

แหลมสมิหรา





อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตลาดทรัพย์สิน(ตลาดสดเทศบาล)ประมาณ 2.5 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด ทิวสนร่มรื่น รูปปั้นนางเงือกอันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลา และรูปปั้นหนูแมว โดยรอบบริเวณได้จัดสวนหย่อมไว้ดูร่มรื่นเหมาะเป็นที่นั่งพักผ่อนยามเย็น เมี่อมองออกไปในทะเลจะเห็น เกาะหนูเกาะแมว อันเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของแหลมสมิหลา ที่มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า “มีพ่อค้าชาวจีนผู้หนึ่งคุมเรือสำเภาเดินทางมาค้าขายระหว่างจีนกับสงขลาเป็นประจำ วันหนึ่งพ่อค้าผู้นี้ได้ซื้อหมากับแมวลงเรือไปเมืองจีนด้วย หมากับแมวอยู่บนเรือนานๆเกิดความเบื่อหน่ายจึงปรึกษาหาวิธีการที่จะกลับบ้าน หมากับแมวได้ทราบว่าพ่อค้ามีดวงแก้ววิเศษที่ทำให้ไม่จมน้ำ แมวจึงคิดอุบายโดยให้หนูไปขโมยแก้ววิเศษของพ่อค้ามา และหนูขอหนีขึ้นฝั่งไปด้วย ทั้งสามว่ายน้ำหนีลงจากเรือโดยที่หนูอมดวงแก้วเอาไว้ในปาก ขณะนั้นหนูนึกขึ้นได้ว่าถ้าถึงฝั่ง หมากับแมวคงจะแย่งเอาดวงแก้วไปจึงคิดที่จะหนี ฝ่ายแมวซึ่งว่ายตามหลังมาก็คิดเช่นกัน จึงว่ายน้ำรี่ไปหาหนู หนูตกใจว่ายน้ำหนีไม่ทันระวังตัว ดวงแก้ววิเศษที่อมไว้จึงตกลงจมหายไปในน้ำ หนูและแมวต่างก็หมดแรงจมน้ำตายกลายเป็นเกาะหนูเกาะแมวอยู่ที่อ่าวหน้าเมือง ส่วนหมาตะเกียกตะกายว่ายน้ำไปจนถึงฝั่งและสิ้นใจตายด้วยความเหน็ดเหนื่อยกลายเป็นหินบริเวณเขาตังกวนอยู่ริมอ่าวสงขลา ดวงแก้ววิเศษที่หล่นจากปากหนูแตกละเอียดกลายเป็นหาดทรายแก้วอยู่ทางด้านเหนือของแหลมสน”การเดินทาง จากอำเภอหาดใหญ่สามารถใช้บริการรถประจำทางสายหาดใหญ่-สงขลา แต่หากอยู่ในอำเภอเมืองก็มีรถสองแถวบริการไปชายหาด